ล่อราก ชำหน่อ ยิมโนด่าง : รีวิว วัสดุใช้ล่อราก (Gymnocalycium Variegata)


Review-create_new_root_01

     ในการ “ล่อราก” หรือ ชำหน่อยิมโนด่างนั้น จะค่อนข้างยาก กว่าการล่อรากยิมโนที่ไม่ด่าง และสายพันธุ์อื่น ด้วยความที่เขามีสีที่ด่าง หรือสีเขียวน้อย ทำให้การสังเคราะห์แสง เพื่อเจริญเติบโตจงค่อนข้างยาก บางคนถึงนิยมนำไป “กราฟ” เพราะจะช่วยทำให้ไม้โตไวขึ้น

โดยปกติ การล่อราก สามารถทำได้ทั้งแบบ ระบบเปิด และระบบปิด ซึ่งมีข้อดีเสียแตกต่างกันไป การล่อรากในระบบปิด เสี่ยงต่อการเน่า หรือขึ้นรา การล่อรากแบบเปิด ก็เสี่ยงต่อการที่หน่อฝ่อ รากไม่ออก

สิ่งสำคัญในการล่อรากแบบปิด โดยไม่ใช้ยาเร่งราก หรือยากันรา

• หน่อที่นำมาล่อราก หรือชำหน่อ แผลต้องแห้งสนิท ไม่ฉะนั้นอาจจะทำให้เกิดการเน่า แนะนำให้นำหน่อไปตากแดดอ่อนๆ จะช่วยสมานแผล และฆ่าเชื้อโรคได้

• ภาชนะที่ใช้ หรือวัสดุที่ใช้ควรจะต้องมีความสะอาดเพื่อป้องกันการเกิดรา

• อุณหภูมิที่เหมาะสม อากาศควรถ่ายเทได้ดี แสงแดดที่พอเพียง เป็นช่วงแดดเช้า หรือแดดร่ำไร ประมาณ 40% ห้ามวางในที่ที่อากาศร้อนอบอ้าว หรืออุณหภูมิสูง

• ไม่ควรเคลื่อนย้าย หรือเปิดดูบ่อยๆเพราะอุณหภูมิที่แตกต่างกันมากระหว่างภายในกับภายนอก
อาจจะมีผลกับต้น และการยกดูบ่อยๆ จะเป็นการรบกวน ทำให้รากออกช้า หรือไม่ออก

ขั้นตอนการล่อราก หรือชำหน่อแบบปิด นั้นง่ายมาก
เพียงแค่ใส่วัสดุที่เราใช้ล่อราก 1/3 ของภาชนะที่เราใช้ล่อราก พรมน้ำให้ชุ่ม แล้ววางหน่อของเราไว้บนวัสดุล่อราก โดยไม่ต้องกดหรือฝังแค่วางไว้เฉย หลังจากนั้นก็ปิดฝาให้สนิท คำแนะนำ ภาชนะที่จะนำมาใช้ล่อรากควรเป็น ภาชนะที่รับแสงได้ดี ไม่ควรทึบ หรือแสงเข้าถึงยาก

วัสดุที่เรานำมารีวิวในการล่อราก หรือชำหน่อ ยิมโนด่าง มีดังนี้
•เม็ดดินเผา •เพอร์ไลต์จิ๋ว •ดินอคาดามะ •หินภูเขาไฟ ทีพีไอ •ดินปลูก #mini3garden
โดยมีการนำวัสดุมาผสมกันด้วย
ระยะเวลาที่ใช้คือ 25 วัน
ล่อราก หรือชำหน่อ แบบไม่ใช่ยาเร่งราก และยากันรา


**ปัจจัยที่อาจจะทำให้ได้ ผลผลลัพธ์แตกต่างคือ • สี ความด่าง มาก น้อย • ขนาด และความสมบูรณ์ ของหน่อ
การทดลองนี้ถือว่า 70% สามารถนำมาตัดสินใจใช้วัสดุ แต่ละประเภท และทดลองต่อไป

Review-create_new_root_02

Review-create_new_root_03

-ล่อราก หรือชำหน่อย ยิมโนด่าง โดยใช้ ดินปลูก #mini3garden

Review-create_new_root_04

ล่อราก หรือชำหน่อย ยิมโนด่าง โดยใช้  • ดินอคาดามะ ผสมกับ • หินภูเขาไฟ ทีพีไอ 

ล่อราก หรือชำหน่อย ยิมโนด่าง โดยใช้  • เม็ดดินเผา ผสมกับ •เพอร์ไลท์จิ๋ว

ล่อราก หรือชำหน่อย ยิมโนด่าง โดยใช้  • เม็ดดินเผา ผสมกับ • หินภูเขาไฟ ทีพีไอ

ล่อราก หรือชำหน่อย ยิมโนด่าง โดยใช้  • หินภูเขาไฟ ทีพีไอ


สรุปผลการใช้วัสดุล่อราก ชำหน่อ ยิมโนด่าง แต่ละชนิด

หลังจากการล่อรากเสร็จแล้วก็คือ ขั้นตอนการในไปปลูกในดินปลูกแบบปกติต่อไป โดยไม่ต้องตัดแต่งราก หรือดึงวัสดุที่ติดอยู่กับรากออก เพราะรากที่ล่อ หรือชำนั้นค่อนข้างบอบบาง ไม่ควรมีการกระทบกระเทือนแบบรุนแรง เพราะอาจจะทำให้รากตายได้ จึงต้องควรเบามือ และใช้ความระมัดระวัง ดินปลูกที่ใช้ควรเป็นดินที่มีความชื้นอยู่ในตัว ไม่แห้ง

หลังจากปลูกเสร็จก็สเปรย์น้ำเล็กน้อย และวางไว้ในที่ๆ แดดร่ำไร ไม่ร้อน ให้เขาได้ค่อยๆ ปรับตัว หลังจากผ่านไปประมาณ 2 อาทิตย์ รากก็จะเดินดีแข็งแรง และถ้าหากสังเกตว่า ยอดเริ่มเดินแสดงว่า ระบบรากนั้นสมบูรณ์แล้ว ก็ค่อยนำไปเทรนแดด เพื่อเพิ่มความเข้มข้นของแสง และเลี้ยงตามปกติได้เลย

การรีวิวครั้งนี้ไม่ได้เป็นการฟันธงว่า วัสดุใดดีกว่ากัน แต่เป็นการทดลองเพื่อให้เห็นผลลัพธ์
โดยจะต้องมีการทดลองซ้ำกันหลายครั้งเพื่อเก็บสถิติที่ดีที่สุด


แต่อยากจะให้เป็นไอเดียในการเลี้ยงหรือปลูกต้นไม้ ว่าเรานั้น สามารถทดลองเพื่อหาผลลัพธ์ที่ดีสุด
“การเกษตร ก็คือการทดลอง บันทึก และนำมาวิเคราะห์ต่อ เพื่อต่อยอดให้ดีขึ้นไปอีก”

เพาะเมล็ดกระบองเพชร ไม้ใบ ไม้อวบน้ำ ต้นไม้ทั่วไป ปลอดสารเคมี ดินผสมสำเร็จ พร้อมกล่อง


ชุดเพาะเมล็ดกระบองเพชร ไม้ใบ ไม้อวบน้ำ ต้นไม้ทั่วไป ปลอดสารเคมี ดินผสม พร้อมกล่อง ป้ายแท็ก
จำนวน 3 ชุด (** เป็นวัสดุอุปกรณ์ ไม่มี เมล็ดพันธุ์ **)

ขนาด: 3 ชุด / 1 เซต
สถานะสินค้า : พร้อมส่ง


รายละเอียด

• กล่องขนาดใหญ่เพาะเมล็ดได้จำนวนเยอะ กล่องเพาะ ขนาด15X15X6.5 ซม.
• กล่องสี่เหลี่ยมช่วยประหยัดพื้นที่ในการวาง
• สามารถมองเห็นการเจริญเติบโตของเมล็ดข้างในกล่องง่าย
• กล่องแข็งแรงทนทานไม่ยุบตัวง่าย สามารถล้างให้สะอาดและนำมาใช้ซ้ำได้อีกหลายครั้ง
• ไม่จำเป็นต้องใช้ยากันรา ดินเพาะเมล็ดของเราไม่มีส่วนผสมเคมีอันตรายหรือยากันรา เพื่อความปลอดภัยของผู้ใช้ และวิธีป้องกันการเกิดเชื้อราแนะนำให้นำดินไปตากแดดก่อนใช้งาน


รีวิวจากคุณลูกค้า ที่ใช้ชุดเพาะเมล็ดของเรา ☺


วิธีใช้งานชุดเพาะเมล็ด mini3garden

cactus_seeding2.jpg
  1. แกะดินเพาะออกจากถุง ใส่กล่องตามปริมาณที่ใส่ในถุง ต่อ 1 กล่อง แล้วปิดฝาและนำไปตากแดดทั้งกล่อง วิธีนี้จะเหมือนเป็นการใช้ความร้อนนึ่งดิน
cactus_seeding3.jpg

2. ตากไว้ในที่ที่แดดแรง แดดจัด เป็นเวลา 1-2 วัน กล่องจะมีไอน้ำเกาะ ให้เปิดฝาเอาไอน้ำที่เกาะออก เสร็จแล้วเปิดฝาทิ้งไว้นำดินก็เอามาผึ่งให้แห้ง ลดอุณหภูมิดินให้ปกติแล้ว นำไปเพาะเมล็ด


ขั้นตอนการเพาะเมล็ดแคคตัส

  1. เทน้ำสะอาดใส่ดินที่อยู่ในกล่อง ปริมาณน้ำให้ท่วมหน้าดิน ทิ้งไว้สัก 10 นาที ให้ดินเพาะได้ดูดน้ำจนชุ่ม และเช็คอีกครั้งว่าดินชื้นพอหรือยัง หากดินยังแห้งอยู่ให้สเปรย์น้ำเพิ่ม ดินไม่ควรมีน้ำขังแต่ควรมีความเปียกชุ่ม
  2. นำเมล็ดที่เตรียมไว้ วางบนผิวดิน หลังจากนั้นกดเมล็ดลงไปในดินเพาะเล็กน้อย
  3. ปิดฝาให้สนิทและนำไปวางไว้ในที่แสงแดด ประมาณ 30-40% หรือแดดรำไร

ข้อควรระวังและสังเกตในการเพาะเมล็ด

  • ความชื้นในกล่อง หากดินแห้งเกินไปให้สเปรย์น้ำเพิ่มความชื้น ควรรักษาความชื้นของดินให้เหมาะสมและต่อเนื่อง แต่ถ้าหากเรากะปริมาณน้ำให้พอดีตั้งแต่การเพาะ ไม่จำเป็นต้องเปิดฝาเติมน้ำอีกเลย
  • อย่านำกล่องที่เพาะเมล็ดแล้ววางในที่ๆ แสงแดดแรง อาจจะเกิดตะไคร่น้ำมากเกินไป หรืออาจแดดจะทำต้นอ่อนฝ่อ หรือสุกได้

คำถามที่พบบ่อย

การเพาะเมล็ดทำแบบไหนได้บ้าง??

การเพาะเมล็ดแคคตัสนั้น สามารถทำได้ 2 รูปแบบคือ ระบบเปิด และระบบปิด แต่ที่นิยมคือ ระบบปิด เพราะง่ายต่อการดูแล ไม่ต้องรดน้ำบ่อยๆ และก็อัตราการรอดก็ค่อนข้างสูงกว่าระบบเปิด ที่อาจจะมีการฝ่อ หรือยุบตัวในกรณีที่ความชื้นไม่เพียงพอ หรืออาจจะโดนรบกวนจากแมลงหรือสัตว์ต่างๆ

การเพาะเมล็ดจำเป็นจะต้องใช้ยากันเชื้อราไหม??

จะใช้หรือไม่ใช้ก็ได้ แต่การเพาะแบบ mini3garden ไม่ต้องใช้ยากันรา เพียงแค่

  • ต้องนำดินเพาะเมล็ด ตากแดดก่อนปลูกเพื่อเป็นการช่วยฆ่าเชื้อ
  • ล้างเมล็ดให้สะอาดพอ จะไม่ค่อยพบปัญหาเรื่องรา เพราะ เนื้อ หรือเมือกที่เกาะอยู่กับเม็ดจะเป็นสาเหตุที่ทำให้เกิดราได้ง่าย
  • ไม่เปิดดู บ่อยๆ เพราะการที่เปิดดูนั้น เมื่ออุณหภูมิจากภายนอกเข้าไป ถ้าอุณหภูมิมีความต่างกันมากระหว่างด้านในและนอกกล่องเพาะ อาจทำให้เกิดเชื้อราได้ ถ้าอยากเปิดดูแนะนำว่าให้เปิดในช่วงที่อุณหภูมิ ไม่ต่างกันมากกับอุณหภูมิในกล่อง เช่น เช้ามืด หรือ ช่วงค่ำๆ
  • วางกล่องเพาะไว้ในที่ๆ อากาศถ่ายเท แสงแดดเหมาะสม
cactus_seeding4
หลังจากเพาะเมล็ดได้ 5 วัน

หลังจากเพาะเมล็ด ประมาณ 5-10 วัน ก็จะมีต้นอ่อนงอกออกจากเมล็ด อัตราการงอกจะมีปริมาณมากน้อย นั้นก็ขี้นอยู่กับความสมบูรณ์ของตัวเมล็ดเอง และการงอกช้าหรือเร็วนั้นขึ้นอยู่กับปัจจัยสภาพแวดล้อมต่างๆ

cactus_seeding5.jpg
หลังจากเพาะเมล็ดได้ 30 วัน

พอหลังจากต้นอ่อนค่อยแข็งแรงและเติบโตแล้วประมาณ เดือนที่ 4-5 ก็ค่อยเพิ่มๆ ความเข้มข้นของแสงแดด เพื่อเป็นการให้เขาได้ค่อยๆ ปรับตัว

cactus_seeding6
หลังจากเพาะเมล็ดได้ 5 เดือน ต้นอ่อนเห็นเป็นรูปร่างชัดขึ้น
เมื่อได้อายุ หรือขนาดที่โตพอจะนำออกมาปลูก ก็ค่อยๆ แง้ม เปิดฝาที่ละนิด เพื่อให้ต้นค่อยๆ ปรับกับอากาศภายนอก

การเพาะเมล็ดแบบง่ายๆ by #mini3garden

เมล็ดที่ใช้เพาะในวีดีโอ เป็น Astrophytum (แอสโตรไฟตัม)