วิธีดูรากกระบองเพชร (แคคตัส) รากแบบไหนดี หรือมีปัญหา


สาเหตุสำคัญในการเลี้ยงกระบองเพชรอีกอย่างที่เราไม่ควรมองข้าม หากต้องการให้ต้นสมบูรณ์แข็งแรง ก็คือ ระบบของราก ซึ่งเปรียบเสมือนกลไกหัวใจหลักของต้น ที่ทำหน้าที่ในการดูดซึมอาหาร และแร่ธาตุที่จำเป็นต่างๆ ไปเลี้ยงต้น หากรากมีคุณภาพดี ก็จะส่งผลที่ดีโดยตรงต่อต้น

แล้วอะไร?? ที่เป็นปัจจัยที่ทำให้รากสมบูรณ์ คุณภาพดี

ปัจจัยหลักอย่างแรกคือ ดิน ที่เปรียบเสมือนเป็น บ้าน และห้องอาหาร ดินที่ดีควรมี แร่ธาตุ อากาศหมุนเวียน และระบบนิเวศในดินที่ดี กักเก็บความชื้นในเหมาะสมกับชนิดของต้น ซึ่งจะมีลักษณะเนื้อดินที่ร่วนซุ่ย ไม่เกาะตัวกันง่าย มีความชุ่มชื้น แต่ไม่แฉะ เมื่อรดน้ำทิ้งไว้สัก 1-2 วัน ดินจะต้องไม่เปียกชุ่ม หากเปรียบเปรยให้เห็นภาพ เหมือนผ้าที่ชุบน้ำแล้วบิด ดินจะมีลักษณะหมาดๆ แต่ไม่อมน้ำ เพราะถ้าหากดินแห้งติดต่อกันนานเกินไป อาจจะทำให้รากฝอยตาย หรือรากแห้งได้

ซี่งรากฝอยที่ทำให้การดูดซึม ความชื้น และแร่ธาตุ จะเป็นส่วนที่แห้งง่าย เมื่อปล่อยให้ดินแห้งเกินเป็นเวลานานก็จะทำให้รากส่วนนี้ตายได้ หรือในทางกลับกัน หากมีความชื้นเยอะ ซึ่งไม้อวบน้ำไม่ต้องการการความชื้นมาก รากฝอยก็จะเน่า

วิธีสังเกตเบื้องต้นได้ง่ายๆ จากหน้าดิน ว่ารากของต้นไม้มีปัญหาหรือไม่


คือ การสังเกตระยะเวลาการแห้งของดิน ( ในกรณีที่ใช้ดินญี่ปุ่นโรยหน้ากระถาง จะทำให้เห็นความชื้นในดิน จากสีของดินได้ง่าย ) หากต้นที่เรารดน้ำพร้อมๆ กัน ดินค่อยๆ ทยอย เริ่มแห้งแล้ว แต่จะสังเกตได้ว่า ต้นที่มีปัญหา ดินจะยังคงชื้นอยู่ตลอดเวลา อาจสันนิษฐานได้ว่า รากอาจมีปัญหา จึงทำให้การดูดซึมช้าลง

หรือสังเกตจากโคนต้นที่เริ่มยุบ ซึ่งโดยส่วนใหญ่แล้ว หากได้รับน้ำเป็นปกติ แล้วตรงโคนต้นยังยุบ หรือย่นอยู่ นั่นอาจจะมีสาเหตุมาจากราก ซึ่งปัญหาที่พบได้บ่อย ก็คือ มีศัตรูพืช เช่นเพลี้ยแป้ง เกาะกินทำให้รากเสียหาย หรือต้นที่ไม่ได้รับการเปลี่ยนกระถางนาน รากแน่น เนื้อดินน้อยจนไม่สามารถเก็บความชุ่มชื้นได้

ซึ่งในการเปลี่ยนกระถาง จึงมีการแนะนำให้ตัดแต่งรากก่อนปลูก เพื่อกระตุ้นการเกิดรากใหม่ ที่จะมีประสิทธิภาพกว่า รากเดิมที่อาจจะเสื่อมสภาพ หรือเสียหายจากศัตรูพืช

แต่มีกรณียกเว้น หากต้นที่รากปกติ และเพิ่งเปลี่ยนดินมาไม่นาน แต่ต้นโตเร็ว และไม่อยากตัดรากให้ต้นชะงัก หรือต้องฟื้นตัวใหม่ ก็จะสามารถเปลี่ยนกระถางได้เลยโดยไม่ต้องตัดแต่งราก แต่ให้เว้นระยะ การรดน้ำแบบชุ่มในช่วงแรก แต่ให้โชยน้ำเพื่อรักษาความชุ่มชื่นในดินช่วงแรก ในระหว่างที่ต้นกำลังฟื้นตัว ประมาณ 7-12 วัน หลังจากสังเกตว่าระบบราก เซตตัวได้ดีแล้ว จึงรดน้ำตามปกติ

คำถามที่จะพบบ่อย ว่า แล้วหากต้นโคนยุบ จะต้องทำอย่างไร

หากเป็นการยุบไม่มากจาก รากที่เก่าเสื่อมสภาพ หลังจากตัดแต่งราก และลงปลูก จนต้นฟื้นตัว โคนต้นก็จะกลับมาเต่งตึงตามปกติ หากโคนยุบเยอะมากเท่าไหร่ก็ต้องใช้ระยะเวลาฟื้นฟูนานเท่านั้น อีกวิธีที่ใช้กระตุ้นรากให้งอกและฟื้นเร็ว คือการใช้ความชื้นมากขึ้นเพื่อล่อรากให้งอกด้วยวัสดุที่กักเก็บความชื้นได้ดีเช่น เม็ดดินเผา

บทความที่เกี่ยวข้องวิธีรักษา และอาการต้นเหี่ยว โคนยุบ ของแคคตัส (กระบองเพชร) >> คลิก <

เพิ่งจะลงปลูกใหม่ รากก็เดิน ทำไม…กระบองเพชร (แคคตัส) โคนต้นยุบ ไม่โตขึ้น


pot_not_support.jpg

หลายคนเกิดความสงสัยว่า ทำไมต้นเพิ่งลงปลูก แต่กลับโคนยุบตัว หรือไม้นิ่ง ไม่โต สาเหตุที่เกิดมีได้หลายปัจจัย แต่อีกปัจจัยที่เล็กน้อย และเราอาจจะมองข้ามไปก็คือ การเลือกกระถางให้เหมาะกับต้น สภาพอากาศ สายพันธุ์ และการให้น้ำ

กระบองเพชร (แคคตัส) นั้นมีหลายหลายสายพันธุ์ และแต่ละสายพันธุ์ ก็ต้องการความชื้นที่แตกต่างกัน อย่างเช่น แอสโตร ยิมโน เมโล เป็นสายพันธุ์ที่ชอบน้ำมากกว่า สายพันธุ์อื่นๆ สภาพอากาศที่เลี้ยงแต่ละคนก็แตกต่าง ชนิดไม้ที่ปลูกก็มีความหลากหลาย การให้น้ำในกรณีที่ปลูกรวมกัน และจำนวนเยอะ อาจจะไม่สามารถรดน้ำตามประเภทของไม้ได้ จึงต้องให้น้ำรวมพร้อมกันทีเดียว

ฉะนั้น เมื่อไม้ได้รับน้ำเท่ากัน แต่ความแตกต่างที่ต้องการน้ำต่างกัน อาจจะทำให้บางต้นได้น้ำเยอะมากไป หรือบางต้นขาดน้ำ วิธีการที่จะช่วยแก้ปัญหานี้ได้คือ การเลือกกระถางให้เหมาะสม ตั้งแต่ครั้งแรกที่ปลูก ขนาด ความลึก ประเภทของวัสดุ ล้วนมีปัจจัยรวมกันทั้งหมด

pot_not_support-2

อย่าง แอสโตรต้นนี้ กระถางที่เลือกใช้ตื้นเกินไป เมื่อใส่หินรองแล้ว พื้นที่ที่ใส่ดินก็น้อยลงไปอีก เมื่อนำไปเลี้ยงในที่แดดจัด ลมแรง ดินแห้งไว้ ทำให้ความชื้นระเหยเร็วเกินไป ต้นจึงได้รับความชื้นไม่เพียงพอ

pot_not_support-6
pot_not_support-5

ไม้ที่ชอบน้ำ อาจจะใช้กระถางที่มีก้นลึก เพื่อทำให้เก็บความชื้นได้มากขึ้น ส่วนต้นที่ชอบน้ำน้อย ก็จะเลือกเป็นประเภทปากกว้าง แต่ก้นแคบ เพื่อที่จะได้ระบายความชื้นได้ดีขึ้น ซึ่งในตอนนี้มีกระถางที่ผลิตโดยผู้ปลูกกระบองเพชรอยู่หลายเจ้า ที่นำประสบการณ์มาพัฒนาการผลิตกระถางให้เหมาะกับต้น และลักษณะการปลูก

pot_not_support-4