เม็ดดินเผาสีดำ ป๊อบเปอร์ดำ Claver


เม็ดดินเผาสีดำ ( สินค้ามี 3 ขนาดเม็ด S / M / L )

สินค้ามี 3 ขนาดบรรจุ
เม็ด ขนาด S 500 กรัม / 0.8 ลิตร /  ถุง
สถานะสินค้า : พร้อมส่ง
เม็ด ขนาด M 350 กรัม / 0.7 ลิตร /  ถุง
สถานะสินค้า : พร้อมส่ง
เม็ด ขนาด L 400 กรัม / 0.7 ลิตร /  ถุง
สถานะสินค้า : พร้อมส่ง

// Speacial offer //
พิเศษ ราคา 4 ถุง จาก 120 บาท
ลดเหลือ 100 บาท


รายละเอียด

ช้เป็น วัสดุปลูกต้นไม้ ผสมดินปลูก รองก้นกระถาง โรยหน้ากระถาง ล่อราก ใช้ปลูกพืชไฮโดรโปนิกส์ เป็นวัสดุปลูกที่ปราศจากเชื้อโรค มีค่า pH เป็นกลาง ด้วยเป็นวัสดุที่คงทนแข็งแรง จึงสามารถเก็บไว้ใช้ได้หลายครั้ง เพียงแค่ล้างผึ่งให้แห้งก็สามารถนำกลับมาใช้ใหม่ได้
สินค้ามี 3 ขนาด  S / M / L
เม็ดขนาด S และ M สามารถใช้โรยหน้ากระถางผสมดินปลูก 
เม็ดขนาด L นิยมใช้รองก้นกระถางขนาดเล็ก หรือโรยหน้ากระถางขนาดใหญ่ใหญ่
เม็ด ขนาด S ตัวเม็ดดินเผา มีขนาดตั้งแต่  0 – 4 มม.
เม็ด ขนาด M ตัวเม็ดดินเผา มีขนาดตั้งแต่  4 – 8 มม.
เม็ด ขนาด L ตัวเม็ดดินเผา มีขนาดตั้งแต่  8 – 20 มม.



วัสดุปลูกพรีเมี่ยมเซต / 5 อย่าง ( Premium Planting Meterial Set)


วัสดุปลูกพรีเมี่ยมเซต / 5 อย่าง

ขนาด: 5 อย่าง / 1 ชุด
สถานะสินค้า : พร้อมส่ง


รายละเอียด

เป็นวัสดุที่มีแร่ธาตุในตัว สามารถใช้ โรยหน้ากระถาง ล่อราก ผสมดินปลูก

1 ชุด ประกอบด้วย / 5 อย่าง
— เม็ดดินเผา / 100 กรัม
— หินภูเขาไฟ เบอร์ 00 / 100 กรัม
—  ดินอคาดามะ / 200 กรัม
— ดินคานูมะ / 100 กรัม
—  หินลาวาดำ / 250 กรัม

วิธีใช้และคุณประโยชน์

• หินภูเขาไฟเบอร์ 00 / PUMICE
ใช้ผสมดินปลูก ล่อราก มีธาตุ อะลูมิเนียม แคลเซียม เหล็ก และแมกนีเซียม ซึ่งธาตุเหล่านี้ ช่วยในการดูดซับฟอสฟอรัสที่เป็นประโยชน์ต่อพืช ช่วยเก็บกักธาตุอาหารพืช เพิ่มอากาศในดินช่วยให้ไม่เกิดการอับชื้นอากาศในดินถ่ายเทได้ดี ช่วยควบคุมอุณหภูมิไม่ให้สูงเกินไปและ ช่วยป้องกันไม่ให้ดินจับตัวเป็นก้อน

• ดินญี่ปุ่น อคาดามะ / AKADAMA
ใช้ผสมดินปลูก ล่อราก โรยหน้ากระถาง อุดมไปด้วย ธาตุอาหารที่มีประโยชน์กับพืชและต้นไม้ เป็นวัสดุปลูกที่มีค่า PH ที่เป็นกลางเหมาะกับการเจริญเติบโตของต้นไม้ ลดปัญหาอาการรากเน่าในดิน เพราะไม่มีอินทรีย์วัตถุผสม ดินมีลักษณะความพรุนและโปร่งในตัวสูง ทำให้เก็บกักความชื้นได้พอดีและเหมาะสม

• หินลาวาดำ / BLACK VOLCANO หินลาวา หรือหินภูเขาไฟสีดำ
ใช้ผสมดินปลูก ล่อราก โรยหน้ากระถาง มีแร่ธาตุในตัว เนื้อหินเป็นลักษณะทรายเนื้อหยาบ มีผสมกันทั้งเล็กใหญ่ มีความโปร่ง พรุนสูง แห้งไว้ ช่วยให้อากาศในดินถ่ายเทได้ดี ทำให้ดินในกระถางระบายความชื้นได้ง่าย และสีจะอ่อนลงเมื่อดินแห้ง ช่วยให้สังเกตความชื้นในดินก่อนรดน้ำได้ง่าย

• เม็ดดินเผา / POPPER
ใช้ผสมดินปลูก ล่อราก โรยหน้ากระถาง วัสดุปลูกที่มีค่า PH เป็นกลาง ปราศจาก เชื้อโรคในดิน ใช้ล่อรากแคคตัส ไม้อวบน้ำใช้ฟื้นฟู แคคตัส อาการโคนยุบ รากแห้ง ขาดน้ำ ระบบรากเสีย สามารถใช้ทดแทนวัสดุปลูกพืชไร้ดินใช้ผสมดินปลูกต้นไม้ เก็บความชื้นได้ดี ช่วยเพิ่มช่องอากาศในดิน ลดการเกาะตัวของดิน

• ดินคานูมะ / KANUMA
ใช้ผสมดินปลูก ล่อราก โรยหน้ากระถาง อุดมไปด้วย ธาตุอาหารที่มีประโยชน์กับพืชและต้นไม้ เป็นวัสดุปลูกที่มีค่า PH ที่เป็นกลางเหมาะกับการเจริญเติบโตของต้นไม้ ทำให้เก็บกักความชื้นได้พอดีและเหมาะสม น้ำหนักเบา อุ้มน้ำได้พอเหมาะ

ชำหน่อ กระบองเพชร(แคคตัส) ง่ายๆ ด้วยเม็ดดินเผา (Popper)


spilt_cactus

การชำหน่อ กระบองเพชร (แคคตัส) สามารถชำลงในดินปลูก หรือวัสดุอื่นๆ ได้ ไม่ว่าจะเป็น ดินญี่ปุ่น หินภูเขาไฟ หรือเม็ดดินเผา แต่ข้อดีของการชำด้วยเม็ดดินเผา ก็คือ เรื่องการรักษาความชื้นที่เก็บได้ดี วัสดุโปร่ง ทำให้ควบคุมการให้น้ำได้ง่าย เพราะในช่วงที่ชำหน่อนั้น ไม้ต้องการความชื้นมากกว่า ตอนที่ปลูกตามปกติ เพื่อกระตุ้นในรากนั้นงอกออกมาง่ายและเร็ว

การชำหน่อด้วยเม็ดดินเผา สามารถทำได้โดยใช้เม็ดดินเผา ล้วนหรือจะผสมกับหินภูเขาไฟ เบอร์ 00 ได้ทั้ง 2 แบบ

สิ่งที่ต้องระวังและดูแลในการชำแบบนี้คือ

  • การรักษาความชื้นและแสงแดดให้เหมาะสม
  • หน่อที่นำมาล่อรากควรจะต้องสมบูรณ์
  • หลังจากเด็ดหน่อมากแล้ว ควรพักไว้สัก 7-10 วันก่อน นำมาชำเพื่อให้แผลที่เด็ดมากนั้นปิดและแห้ง เพื่อป้องกันการเน่า

วิธีการชำหน่อ
     หลังจากผึ่งหน่อไว้จนแผลที่เด็ดแห้งแล้ว ก็นำมาใส่ในเม็ดดินเผา ที่มีหินภูเขาไฟผสมเล็กน้อย หรือจะเป็นเม็ดดินเผาล้วนโดยนำภาชนะก้นปิด ไม่มีรู ใส่ลงไปให้สูงจนเต็มภาชนะ หลังจากนั้นใส่น้ำไว้ครึ่งหนึ่งของภาชนะ ควรเป็นภาชนะที่ใส เพื่อจะได้มองเห็นระดับน้ำ
นำต้นไม้วางลงบนเม็ดดินเผาให้รากฝั่งลงไป และยกโคนต้นให้เหนือเม็ดดินเผา ความชื้นจะค่อยๆ ระเหย หมั่นค่อยเติมน้ำเมื่อแห้ง ระดับน้ำครึ่งหนึ่งของภาชนะเหมือนเดิม เลี่ยงการวางกลางแดด วางไว้ที่แดดอ่อนๆ หรือชายคาบ้าน

 เมื่อชำหน่อไปได้สักระยะ จนเห็นว่า ยอดเดินแล้ว เป็นสัญญาณบอกว่า ไม้นั้นมีรากงอกออกมาแล้ว สามารถนำไปปลูกลงดินปลูกกระบองเพชรได้ตามปกติ 

spilt_cactus3.jpg

ในการนำไปปลูกควรจะต้องระวังและเบามือ เพื่อป้องกันไม่ให้รากที่งอกออกมานั้นขาด และต้องนำลงปลูกทันทีที่นำออกจากการชำราก เพราะรากนั้นยังอ่อนแอ อาจจะทำให้รากแห้งและต้นขาดน้ำได้

spilt_cactus4.jpg

ข้อดีของการชำหน่อด้วย เม็ดดินเผา หรือป๊อบเปอร์ คือ เราไม่ต้องรดน้ำบ่อย เพื่อรักษาความชื้น และรากจะมาค่อนข้างเร็ว สามารถนำมาใช้ซ้ำๆ ได้หลายครั้ง หลังจากใช้เสร็จ ก็นำพึ่งแดดให้แห้งสนิทและเก็บไว้ใช้งานได้อีก หรือจะทำเป็นถาดแช่ไว้ เมื่อมีหน่อก็สามารถนำมาชำต่อได้เรื่อยๆ
แต่ข้อที่ด้อยกว่าการชำลงดินคือ ในการชำลงดินนั้นรากอาจจะมาช้ากว่าเม็ดดินเผา แต่รากจะแข็งแรง และปลูกต่อได้เลย โดยไม่ต้องย้ายมาลงปลูกใหม่

หลังจากนำไม้ลงปลูกแล้วก็ดูแลเหมือนการปลูกต้นไม้ทั่วไป
>> การดูแล กระบองเพชร (แคคตัส) ไม้อวบน้ำ หลังจากการเปลี่ยนกระถาง <<

หลังจากดูแลเลี้ยงดู ใส่ปุ๋ยบำรุง ได้รับแสงแดดที่เพียงพอ เจ้าหน่อเล็กก็พร้อมออกดอก แต่หน่อต่อไป 
————————————-

ล่อราก ชำหน่อ ยิมโนด่าง : รีวิว วัสดุใช้ล่อราก (Gymnocalycium Variegata)


Review-create_new_root_01

     ในการ “ล่อราก” หรือ ชำหน่อยิมโนด่างนั้น จะค่อนข้างยาก กว่าการล่อรากยิมโนที่ไม่ด่าง และสายพันธุ์อื่น ด้วยความที่เขามีสีที่ด่าง หรือสีเขียวน้อย ทำให้การสังเคราะห์แสง เพื่อเจริญเติบโตจงค่อนข้างยาก บางคนถึงนิยมนำไป “กราฟ” เพราะจะช่วยทำให้ไม้โตไวขึ้น

โดยปกติ การล่อราก สามารถทำได้ทั้งแบบ ระบบเปิด และระบบปิด ซึ่งมีข้อดีเสียแตกต่างกันไป การล่อรากในระบบปิด เสี่ยงต่อการเน่า หรือขึ้นรา การล่อรากแบบเปิด ก็เสี่ยงต่อการที่หน่อฝ่อ รากไม่ออก

สิ่งสำคัญในการล่อรากแบบปิด โดยไม่ใช้ยาเร่งราก หรือยากันรา

• หน่อที่นำมาล่อราก หรือชำหน่อ แผลต้องแห้งสนิท ไม่ฉะนั้นอาจจะทำให้เกิดการเน่า แนะนำให้นำหน่อไปตากแดดอ่อนๆ จะช่วยสมานแผล และฆ่าเชื้อโรคได้

• ภาชนะที่ใช้ หรือวัสดุที่ใช้ควรจะต้องมีความสะอาดเพื่อป้องกันการเกิดรา

• อุณหภูมิที่เหมาะสม อากาศควรถ่ายเทได้ดี แสงแดดที่พอเพียง เป็นช่วงแดดเช้า หรือแดดร่ำไร ประมาณ 40% ห้ามวางในที่ที่อากาศร้อนอบอ้าว หรืออุณหภูมิสูง

• ไม่ควรเคลื่อนย้าย หรือเปิดดูบ่อยๆเพราะอุณหภูมิที่แตกต่างกันมากระหว่างภายในกับภายนอก
อาจจะมีผลกับต้น และการยกดูบ่อยๆ จะเป็นการรบกวน ทำให้รากออกช้า หรือไม่ออก

ขั้นตอนการล่อราก หรือชำหน่อแบบปิด นั้นง่ายมาก
เพียงแค่ใส่วัสดุที่เราใช้ล่อราก 1/3 ของภาชนะที่เราใช้ล่อราก พรมน้ำให้ชุ่ม แล้ววางหน่อของเราไว้บนวัสดุล่อราก โดยไม่ต้องกดหรือฝังแค่วางไว้เฉย หลังจากนั้นก็ปิดฝาให้สนิท คำแนะนำ ภาชนะที่จะนำมาใช้ล่อรากควรเป็น ภาชนะที่รับแสงได้ดี ไม่ควรทึบ หรือแสงเข้าถึงยาก

วัสดุที่เรานำมารีวิวในการล่อราก หรือชำหน่อ ยิมโนด่าง มีดังนี้
•เม็ดดินเผา •เพอร์ไลต์จิ๋ว •ดินอคาดามะ •หินภูเขาไฟ ทีพีไอ •ดินปลูก #mini3garden
โดยมีการนำวัสดุมาผสมกันด้วย
ระยะเวลาที่ใช้คือ 25 วัน
ล่อราก หรือชำหน่อ แบบไม่ใช่ยาเร่งราก และยากันรา


**ปัจจัยที่อาจจะทำให้ได้ ผลผลลัพธ์แตกต่างคือ • สี ความด่าง มาก น้อย • ขนาด และความสมบูรณ์ ของหน่อ
การทดลองนี้ถือว่า 70% สามารถนำมาตัดสินใจใช้วัสดุ แต่ละประเภท และทดลองต่อไป

Review-create_new_root_02

Review-create_new_root_03

-ล่อราก หรือชำหน่อย ยิมโนด่าง โดยใช้ ดินปลูก #mini3garden

Review-create_new_root_04

ล่อราก หรือชำหน่อย ยิมโนด่าง โดยใช้  • ดินอคาดามะ ผสมกับ • หินภูเขาไฟ ทีพีไอ 

ล่อราก หรือชำหน่อย ยิมโนด่าง โดยใช้  • เม็ดดินเผา ผสมกับ •เพอร์ไลท์จิ๋ว

ล่อราก หรือชำหน่อย ยิมโนด่าง โดยใช้  • เม็ดดินเผา ผสมกับ • หินภูเขาไฟ ทีพีไอ

ล่อราก หรือชำหน่อย ยิมโนด่าง โดยใช้  • หินภูเขาไฟ ทีพีไอ


สรุปผลการใช้วัสดุล่อราก ชำหน่อ ยิมโนด่าง แต่ละชนิด

หลังจากการล่อรากเสร็จแล้วก็คือ ขั้นตอนการในไปปลูกในดินปลูกแบบปกติต่อไป โดยไม่ต้องตัดแต่งราก หรือดึงวัสดุที่ติดอยู่กับรากออก เพราะรากที่ล่อ หรือชำนั้นค่อนข้างบอบบาง ไม่ควรมีการกระทบกระเทือนแบบรุนแรง เพราะอาจจะทำให้รากตายได้ จึงต้องควรเบามือ และใช้ความระมัดระวัง ดินปลูกที่ใช้ควรเป็นดินที่มีความชื้นอยู่ในตัว ไม่แห้ง

หลังจากปลูกเสร็จก็สเปรย์น้ำเล็กน้อย และวางไว้ในที่ๆ แดดร่ำไร ไม่ร้อน ให้เขาได้ค่อยๆ ปรับตัว หลังจากผ่านไปประมาณ 2 อาทิตย์ รากก็จะเดินดีแข็งแรง และถ้าหากสังเกตว่า ยอดเริ่มเดินแสดงว่า ระบบรากนั้นสมบูรณ์แล้ว ก็ค่อยนำไปเทรนแดด เพื่อเพิ่มความเข้มข้นของแสง และเลี้ยงตามปกติได้เลย

การรีวิวครั้งนี้ไม่ได้เป็นการฟันธงว่า วัสดุใดดีกว่ากัน แต่เป็นการทดลองเพื่อให้เห็นผลลัพธ์
โดยจะต้องมีการทดลองซ้ำกันหลายครั้งเพื่อเก็บสถิติที่ดีที่สุด


แต่อยากจะให้เป็นไอเดียในการเลี้ยงหรือปลูกต้นไม้ ว่าเรานั้น สามารถทดลองเพื่อหาผลลัพธ์ที่ดีสุด
“การเกษตร ก็คือการทดลอง บันทึก และนำมาวิเคราะห์ต่อ เพื่อต่อยอดให้ดีขึ้นไปอีก”