
ไตรโคเดอร์มา เป็นสิ่งมีชีวิต เชื้อราชั้นดีชนิดหนึ่ง ที่ถูกดึงเอามาใช้ในการเกษตรที่ไม่ต้องการใช้สารเคมี เพื่อป้องกัน และควบคุมโรคพืช ที่เกิดจากเชื้อราก่อโรค โดยให้เป็นกลไกการเข้าทำลายเชื้อราก่อโรคตามธรรมชาติ ซึ่งกระบวนการเข้าทำลาย แย่งอาหาร ขยายตัวครอบคลุมเชื้อราก่อโรค ส่งผลให้ผนังเซลล์ของเชื้อราก่อโรคถูกทำลาย และเชื้อราไตรโคเดอร์มาจะสร้าง และปลดปล่อยสารปฏิชีวนะออกมา ซึ่งสารนั้นมีคุณสมบัติในการยับยั้ง และทำลายเชื้อราก่อโรค
เชื้อราไตรเดอร์มานั้นมีหลากหลายสายพันธุ์ อาทิเช่น Trichoderma Harzianum, Trichoderma Viride, Trichoderma Amatum แต่ที่นิยมใช้และมีการวิจัยว่า ทนต่อสภาพอากาศของประเทศไทย คือ Trichoderma Harzianum
ส่วนเชื้อราก่อโรคได้แก่
• เชื้อรา พิเทียม ( Pythium ) เป็นสาเหตุของ โรคเน่าระดับดิน กล้ายุบ กล้าเน่า
• เชื้อรา ฟิวซาเรียม ( Fusarium ) เป็นสาเหตุของ โรคเหี่ยว
• เชื้อรา สเคลอโรเทียม ( Sclerotium rolfsii ) เป็นสาเหตุของ โรคโคนเน่า เหี่ยว
• เชื้อรา ไรซอคโทเนีย ( Rhizoctonia ) เป็นสาเหตุของ โรคเน่าระดับดิน กล้าเน่า
• เชื้อรา คอลเลโททริคัม ( Colletotrichum ) เป็นสาเหตุของ โรคใบจุด แอนแทรคโนส
• เชื้อรา อัลเทอร์นาเรีย ( Alternaria ) เป็นสาเหตุของ โรคใบจุด ใบไหม้

การนำไปใช้งาน และประโยชน์ ของเชื้อรา “ไตรโคเดอมา”
“ไตรโคเดอร์มา” เป็นเชื้อราดี ที่ไม่มีอันตราย พืช คน และสัตว์ มีคุณสมบัติในการเข้าทำร้าย เชื้อราร้ายที่ก่อให้เกิดโรคกับพืช ไตรโคเดอร์มา มี 3 รูปแบบ คือ ชนิดผง ชนิดน้ำ และเชื้อสด
การใช้งานหากต้องการให้ได้ผลดี จึงเป็นลักษณะการใช้เพื่อป้องก้น ก่อนการเกิดโรคต่างๆ หากในระยะที่ติดเชื้อ หรือเกิดโรคแล้วจะควบคุมได้ค่อนข้างยากกว่า ดังน้้นการใช้งานในช่วงที่ระบาดจึงต้องมีความถี่ และใช้ควบคู่กับการดูแลด้านอื่นๆ
- ควบคุม ยับยั้ง เข้าทำลาย เชื้อราร้ายต่างๆ ที่ก่อให้เกิดโรคกับพืช
- กระตุ้น และเสริมสร้างภูมิคุ้มกันของพืชให้แข็งแรง ต้านทานโรคได้ดี
- ช่วยย่อยสลาย อินทรีย์วัตถุในดิน เพื่อเพิ่มธาตุอาหารที่เป็นประโยชน์
- ปรับเปลี่ยนธาตุอาหารในดิน เพื่อให้อยู่ในรูปแบบที่พืชสามารถนำไปใช้ได้ดี
- ช่วยกระตุ้นให้พืชแข็งแรง ต้านทานโรค และมีผลผลิตที่ดี
- ช่วยปรับโครงของดินที่ มีสภาวะดินเสื่อม ที่เเป็นสาเหตุให้พืชอ่อนแอ และเกิดโรคได้ง่าย
การใช้งาน
- ใช้คลุกเมล็ดพันธุ์ เพื่อป้องกันโรคที่อาจติดมากับเมล็ดพันธุ์
- รองก้นหลุม ที่ต้องการปลูกพืช
- ผสมกับวัสดุปลูก ดินปลูก หรือปุ๋ยหมักต่างๆ
- การฉีดพ่นตามใบ ต้น หรือดิน หรือรดโคนต้น
- โรยหน้ากระถาง หว่านลงดิน หรือแปลงปลูก

ข้อจำกัดในการใช้งาน
- ไม่ควรใช้งานในช่วงที่แสงแดดจัด อากาศร้อน เพราะจะทำให้ประสิทธิภาพลดลง เนื่องจากเชื้อตาย
- ก่อนใช้งาน รดน้ำให้ดินมีความชื้นพอเหมาะ หรือแฉะจนเกินไป
- ไม่ควรใช้งานร่วมกันกับสารเคมี เพราะอาจเข้าไปยับยั้ง หรือทำให้เชื้อตาย และหมดประสิทธิภาพได้ **หากมีความจำเป็นต้องใช้งานสารเคมี ควรเว้นระยะในช่วง 7-10 วัน ก่อน หรือหลังการใช้เชื่อราไตรโคเดอร์มา
- ไม่ควรใช้กับการเพาะเห็ด เพราะเชื้อราไตรโคเดอร์มา เป็นเชื้อราที่กินเชื้อราเป็นอาหาร ( ซึ่งเห็ดเป็นพืชอยู่ในกลุ่มรา )
คำแนะนำสำคัญในการใช้คือ ไตรโครเดอร์มาเหมาะกับพืชที่ยังไม่แสดงอาการของโรค ใช้เพื่อป้องกันจะได้ประสิทธิภาพดีกว่าโดยสามารถใช้ได้ตั้งแต่ ระยะเพาะเมล็ด การเตรียมต้นกล้าพืช
หากพืชแสดงอาการของโรคแล้ว ให้เพิ่มความถี่ในการใช้งาน แต่หากมีการระบาดรุนแรง อาจไม่สามารถควบคุมการระบาดของโรคได้ทันท่วงที จึงจำเป็นต้องใช้วิธีอื่นๆ เข้าร่วมด้วย
แต่ถึงแม้จะมีข้อจำกัดใดๆ หากเราป้องกันไว้ดี หรือดูแลสม่ำเสมอการเกิดโรคก็มีอัตราต่ำ และที่สำคัญคือ การลด หรือหยุดใช้สารเคมี นั้นจะส่งผลที่ดีในระยะยาวอย่างแน่นอน