
ในการ “ล่อราก” หรือ ชำหน่อยิมโนด่างนั้น จะค่อนข้างยาก กว่าการล่อรากยิมโนที่ไม่ด่าง และสายพันธุ์อื่น ด้วยความที่เขามีสีที่ด่าง หรือสีเขียวน้อย ทำให้การสังเคราะห์แสง เพื่อเจริญเติบโตจงค่อนข้างยาก บางคนถึงนิยมนำไป “กราฟ” เพราะจะช่วยทำให้ไม้โตไวขึ้น
โดยปกติ การล่อราก สามารถทำได้ทั้งแบบ ระบบเปิด และระบบปิด ซึ่งมีข้อดีเสียแตกต่างกันไป การล่อรากในระบบปิด เสี่ยงต่อการเน่า หรือขึ้นรา การล่อรากแบบเปิด ก็เสี่ยงต่อการที่หน่อฝ่อ รากไม่ออก
สิ่งสำคัญในการล่อรากแบบปิด โดยไม่ใช้ยาเร่งราก หรือยากันรา
• หน่อที่นำมาล่อราก หรือชำหน่อ แผลต้องแห้งสนิท ไม่ฉะนั้นอาจจะทำให้เกิดการเน่า แนะนำให้นำหน่อไปตากแดดอ่อนๆ จะช่วยสมานแผล และฆ่าเชื้อโรคได้
• ภาชนะที่ใช้ หรือวัสดุที่ใช้ควรจะต้องมีความสะอาดเพื่อป้องกันการเกิดรา
• อุณหภูมิที่เหมาะสม อากาศควรถ่ายเทได้ดี แสงแดดที่พอเพียง เป็นช่วงแดดเช้า หรือแดดร่ำไร ประมาณ 40% ห้ามวางในที่ที่อากาศร้อนอบอ้าว หรืออุณหภูมิสูง
• ไม่ควรเคลื่อนย้าย หรือเปิดดูบ่อยๆเพราะอุณหภูมิที่แตกต่างกันมากระหว่างภายในกับภายนอก
อาจจะมีผลกับต้น และการยกดูบ่อยๆ จะเป็นการรบกวน ทำให้รากออกช้า หรือไม่ออก
ขั้นตอนการล่อราก หรือชำหน่อแบบปิด นั้นง่ายมาก
เพียงแค่ใส่วัสดุที่เราใช้ล่อราก 1/3 ของภาชนะที่เราใช้ล่อราก พรมน้ำให้ชุ่ม แล้ววางหน่อของเราไว้บนวัสดุล่อราก โดยไม่ต้องกดหรือฝังแค่วางไว้เฉย หลังจากนั้นก็ปิดฝาให้สนิท คำแนะนำ ภาชนะที่จะนำมาใช้ล่อรากควรเป็น ภาชนะที่รับแสงได้ดี ไม่ควรทึบ หรือแสงเข้าถึงยาก
วัสดุที่เรานำมารีวิวในการล่อราก หรือชำหน่อ ยิมโนด่าง มีดังนี้
•เม็ดดินเผา •เพอร์ไลต์จิ๋ว •ดินอคาดามะ •หินภูเขาไฟ ทีพีไอ •ดินปลูก #mini3garden
โดยมีการนำวัสดุมาผสมกันด้วย
ระยะเวลาที่ใช้คือ 25 วัน
ล่อราก หรือชำหน่อ แบบไม่ใช่ยาเร่งราก และยากันรา
**ปัจจัยที่อาจจะทำให้ได้ ผลผลลัพธ์แตกต่างคือ • สี ความด่าง มาก น้อย • ขนาด และความสมบูรณ์ ของหน่อ
การทดลองนี้ถือว่า 70% สามารถนำมาตัดสินใจใช้วัสดุ แต่ละประเภท และทดลองต่อไป



-ล่อราก หรือชำหน่อย ยิมโนด่าง โดยใช้ • ดินปลูก #mini3garden

ล่อราก หรือชำหน่อย ยิมโนด่าง โดยใช้ • ดินอคาดามะ ผสมกับ • หินภูเขาไฟ ทีพีไอ

ล่อราก หรือชำหน่อย ยิมโนด่าง โดยใช้ • เม็ดดินเผา ผสมกับ •เพอร์ไลท์จิ๋ว

ล่อราก หรือชำหน่อย ยิมโนด่าง โดยใช้ • เม็ดดินเผา ผสมกับ • หินภูเขาไฟ ทีพีไอ

ล่อราก หรือชำหน่อย ยิมโนด่าง โดยใช้ • หินภูเขาไฟ ทีพีไอ
สรุปผลการใช้วัสดุล่อราก ชำหน่อ ยิมโนด่าง แต่ละชนิด


หลังจากการล่อรากเสร็จแล้วก็คือ ขั้นตอนการในไปปลูกในดินปลูกแบบปกติต่อไป โดยไม่ต้องตัดแต่งราก หรือดึงวัสดุที่ติดอยู่กับรากออก เพราะรากที่ล่อ หรือชำนั้นค่อนข้างบอบบาง ไม่ควรมีการกระทบกระเทือนแบบรุนแรง เพราะอาจจะทำให้รากตายได้ จึงต้องควรเบามือ และใช้ความระมัดระวัง ดินปลูกที่ใช้ควรเป็นดินที่มีความชื้นอยู่ในตัว ไม่แห้ง
หลังจากปลูกเสร็จก็สเปรย์น้ำเล็กน้อย และวางไว้ในที่ๆ แดดร่ำไร ไม่ร้อน ให้เขาได้ค่อยๆ ปรับตัว หลังจากผ่านไปประมาณ 2 อาทิตย์ รากก็จะเดินดีแข็งแรง และถ้าหากสังเกตว่า ยอดเริ่มเดินแสดงว่า ระบบรากนั้นสมบูรณ์แล้ว ก็ค่อยนำไปเทรนแดด เพื่อเพิ่มความเข้มข้นของแสง และเลี้ยงตามปกติได้เลย

การรีวิวครั้งนี้ไม่ได้เป็นการฟันธงว่า วัสดุใดดีกว่ากัน แต่เป็นการทดลองเพื่อให้เห็นผลลัพธ์
โดยจะต้องมีการทดลองซ้ำกันหลายครั้งเพื่อเก็บสถิติที่ดีที่สุด
แต่อยากจะให้เป็นไอเดียในการเลี้ยงหรือปลูกต้นไม้ ว่าเรานั้น สามารถทดลองเพื่อหาผลลัพธ์ที่ดีสุด
“การเกษตร ก็คือการทดลอง บันทึก และนำมาวิเคราะห์ต่อ เพื่อต่อยอดให้ดีขึ้นไปอีก”